
รู้หรือไม่ ?? แผงโซล่าเซลล์มีกี่ชนิด แล้วใช้งานยังไง??
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ นั่นคือ แผงโซล่าเซลล์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้า และคุณสมบัติอื่น ๆ ลองมาดูกันว่าแผงโซล่าเซลล์แบบไหนที่ตรงกับความต้องการของคุณ
ประเภทที่ 1 Amorphous หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัส (Amorphous Silicon Solar Cell หรือ a-Si)”
เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีการใช้ได้ในพื้นที่มีอาจจะมีแสงแดดน้อย มีหมอกปกคลุมหรือมีฝนตกบ่อย เพราะมีความไวในการจับแสงดีมาก แต่ราคาค่อนข้างแพงและมีความบอบบางมากไม่สามารถใช้ประยุกต์เข้ากับอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้าแบบอื่นได้มากนัก
ประเภทที่ 2 Crystalline สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ดีในพื้นที่ที่มีแดดจัด สามารถประยุกต์และต่อพ่วงกับวงจรไฟฟ้าไห้หลากหลาย มีความทนทานกว่าแบบ Amorphous แต่จะไม่เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่แดดน้อยหรือฝนตกชุกตลอดทั้งปี เนื่องจากเป็นชนิดที่ไวในการจับแสงได้น้อย มี 2 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่
Crystalline สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ดีในพื้นที่ที่มีแดดจัด สามารถประยุกต์และต่อพ่วงกับวงจรไฟฟ้าไห้หลากหลาย มีความทนทานกว่าแบบ Amorphous แต่จะไม่เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่แดดน้อยหรือฝนตกชุกตลอดทั้งปี เนื่องจากเป็นชนิดที่ไวในการจับแสงได้น้อย มี 2 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่
2.1 แผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline Silicon Solar Cell หรือ c-Si)
ทำมาจากผลึกซิลิคอนบริสุทธิ์ เกิดจากการกวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง จากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมและลบมุมทั้งสี่ออก ทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในบรรดาแผงโซล่าเซลล์ทุกชนิด มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25 ปีขึ้นไป จึงมีราคาแพง สังเกตุค่อนข้างง่ายกว่าชนิดอื่นเพราะจะเห็นแต่ละเซลล์ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุมและมีสีเข้ม
2.2 แผงโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cell หรือ pc-Si)
ทำมาจากซิลิคอนเหลวเทใส่โมลด์ที่เป็นสี่เหลี่ยม ก่อนจะทำการตัดเป็นแผ่นบาง จึงทำให้เซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสไม่มีตัดมุม แผงมีสีน้ำเงินไม่เข้มมาก มีประสิทธิภาพในการใช้งานหรือทนต่อสภาพอากาศที่อุณหภูมิสูงดีกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์ แผงมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์ จึงทำให้แผงโซล่าเซลล์แบบโพลี่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย
ประเภทที่ 3 แผงโซลลาเซลล์แบบอะมอร์ฟัส (Super Amorphous)
การประยุกต์เอาข้อดีของทั้งแผ่นโซล่าเซลล์แบบ Amorphous และ Crystalline มารวมกันทำให้ได้แผ่นโซล่าเซลล์ที่เรียกว่ามีความสามารในการรับแสงแดดที่ไวทั้งในที่แดดอ่อนหรือแดดจ้าจะฝนตกหรือมีหมอกมากก็ตามมีความยืดหยุ่นสูงไม่แตกหักง่ายสามารถม้วนหรืองอได้อีกทั้งยังง่ายในการติดตั้งอีกด้วยแต่เสียอยู่อย่างเดียวนั่นคือยังมีราคาแพง